Life Style

‘โรคฮันนีมูน’ วายร้ายกระเพาะปัสสาวะ

โรคฮันนีมูน(Honeymoon disease)เป็นโรคที่เกิดเฉพาะในเพศหญิงที่มีการอักเสบบริเวณท่อปัสสาวะ(Urethritis)หรือ ช่องคลอด(Vaginitis)หรือ กระเพาะปัสสาวะ (Cystitis)หลังจากมีเพศสัมพันธ์ ทำให้เกิดอาการแสบหรือเจ็บบริเวณท่อปัสสาวะในขณะถ่ายปัสสาวะ บางคนอาจถึงขั้นติดเชื้อแบคทีเรีย ถ้ามีภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบหลังการมีเพศสัมพันธ์ ก็จะเรียกว่า โรคฮันนีมูน ซิสไตติส (Honeymoon Cystitis)ที่มาของชื่อโรคฮันนีมูน ในสมัยโบราณ การมีเพศสัมพันธ์จะเกิดได้ต้องหลังแต่งงานเท่านั้น และมักเกิดในช่วงที่มีเพศสัมพันธ์หลาย ๆ ครั้ง ในระยะเวลาอันสั้น ก็คือช่วงที่ฮันนีมูน จึงเรียกกันว่า “โรคฮันนีมูน”สัญญาณอันตราย สังเกตดูคุณมีหรือไม่- ขณะถ่ายปัสสาวะ มีอาการแสบบริเวณปลายท่อปัสสาวะ หรือบริเวณปากช่องคลอด- ถ้ามีภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบร่วมด้วย ก็จะมีอาการปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวัน กลางคืน ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะขัด กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะแล้วรู้สึกว่าไม่สุดต้องไปปัสสาวะอีกแม้เพิ่งปัสสาวะเสร็จ- บางคนอาจจะมีอาการปวด หรือแสบบริเวณท้องน้อยร่วมด้วยทั้งตอนปวดและไม่ปวดปัสสาวะใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้1.กลุ่มคนที่มีกิจกรรมเพศสัมพันธ์ หรือลักษณะคล้าย ๆ กันนั้นบ่อยครั้ง และหลายครั้งในเวลาอันสั้น2.ผู้ที่ดื่มน้ำน้อย3.ผู้ที่ชอบกลั้นปัสสาวะนาน ๆ4.ผู้ที่เคยรับการผ่าตัด หรือการรักษาด้วยการฉายแสงบริเวณกระเพาะปัสสาวะและอวัยวะเพศมาก่อน5.ผู้ที่มีภาวะต้านทานของร่างกายต่ำกว่าปกติการรักษาเบื้องต้นควรจะพักกิจกรรมทางเพศในระหว่างที่มีอาการดังที่กล่าวมา หมั่นดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อระบายเชื้อโรคบริเวณกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะออก(ถ้ามี)*ถ้ามีอาการมาก ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด ซึ่งมักจะต้องกรวดน้ำปัสสาวะ และอาจจะเพาะเชื้อน้ำปัสสาวะ ซึ่งถ้าพบว่าผิดปกติก็ต้องกินยาปฏิชีวนะ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดหากปล่อยทิ้งไว้อาจลุกลามสู่โรคอื่น ๆ ได้หรือไม่โดยส่วนใหญ่ถ้าดื่มน้ำมาก ๆ และพักกิจกรรมทางเพศก็จะหายเองได้ภายในเวลา 5-7 วัน แต่หากปล่อยทิ้งไว้และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะเกิดภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ และยิ่งถ้าหากติดเชื้อจากแบคทีเรียร่วมด้วย ก็มีโอกาสเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน เช่น กรวยไต หลอดไต ซึ่งมีผลต่อไตในระยะยาว ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง หรืออาจเกิดการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดได้การป้องกัน- ดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน- ดูแลความสะอาดบริเวณปลายท่อปัสสาวะและอวัยวะเพศ- มีกิจกรรมทางเพศอย่างเหมาะสม โดยหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ควรไปปัสสาวะและทำความสะอาดบริเวณท่อปัสสาวะ รวมถึงอวัยวะเพศ- ไม่ควรกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานเกินไป- สังเกตพฤติกรรมการปัสสาวะของตนเองว่ามีการเปลี่ยนแปลงจากปกติที่เคยปฏิบัติหรือไม่ ภายหลังการเดินทาง โดยเฉพาะ”การฮันนีมูน”- ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอการมีเพศสัมพันธ์ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย เป็นธรรมชาติของมนุษย์ชาติ แต่ควรมีเพศสัมพันธ์อย่างเหมาะสม ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป และอย่างถูกกาลเทศะ เพราะโรคนี้มีโอกาสเป็นซ้ำได้ ถ้ามีกิจกรรมทางเพศบ่อยในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งอาจจะเป็นการฮันนีมูนรอบสอง หรืออีกหลาย ๆ รอบได้ ดังนั้นกระเพาะปัสสาวะของเราเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าดูแลรักษาไม่ดีก็อาจนำไปสู่ภาวะหรือโรคร้ายแรงได้ เช่น โรคไต นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ และเนื้องอกได้

ดูแล “ดวงตา” ในยุคดิจิทัล

“ดวงตา” เป็นอวัยวะที่สำคัญอวัยวะหนึ่งของร่างกายเรา แต่ละคนมีกันคนละคู่เท่านั้น ในแต่ละวันเราต้องใช้ดวงตาในการทำกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน ทำให้ดวงตาของเราต้องรับบทหนักตลอดทั้งวันยิ่งโลกปัจจุบันที่โซเชียลเน็ตเวิร์กได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนเรา อย่างแทบจะขาดไม่ได้ เราสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ จำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต ซึ่งจากข้อมูลปี 2559 พบว่าจากประชากรทั้งหมด 68 ล้านคน มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 38 ล้านคน คิดเป็น 56% ของประชากร และมีผู้ใช้ Social Media ทั้งสิ้น 38 ล้านคน ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เราใช้สายตามากกว่าปกติ จนอาจทำให้เป็น “โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม”“โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม” เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ รวมถึงการอ่านหนังสือนานๆ โดยไม่พักสายตา จนทำให้กล้ามเนื้อตาล้า หรือการนั่งในท่าหนึ่งนานๆ ไม่ขยับเขยื้อนร่างกาย ซึ่งโรคนี้พบมากในกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน เนื่องจากคนกลุ่มนี้ใช้เวลาอยู่กับคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์เกือบตลอดเวลา ทั้งทำงาน เล่นเกม และ แชตอาการผู้ป่วยที่เป็นโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม จะมีอาการตาแห้ง แสบตา เคืองตา ปวดตา ตาพร่า เกิดภาพเบลอหรือภาพซ้อน ปวดศีรษะ และอาจจะมีอาการแพ้แสงร่วมด้วยการดูแลรักษาดวงตาหากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้• ปรับสภาพแวดล้อม เช่น ปรับทิศทางการเป่าของแอร์หรือพัดลม โดยไม่ให้เป่าเข้าตา• พักสายตา การใช้ดวงตาเป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้พักเลย ส่งผลให้เกิดอาการล้าและปวดตาตามมาได้ จึงควรพักสายตาบ้าง เช่น ใช้สายตาไป 30 นาที ก็ควรพักสัก 30 วินาทีด้วยการมองไปที่ไกลๆ จากจอคอมพิวเตอร์ประมาณ 20 ฟุต หรือหากในบริเวณที่ทำงานมีสวนหรือต้นไม้ ก็มองไปบริเวณนั้น จะช่วยเพิ่มความผ่อนคลายให้ดวงตาหากทำตามคำแนะนำ 2 ข้อนี้แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์จะแนะนำให้ใช้ “น้ำตาเทียม” ซึ่งมี 2 ชนิด คือ น้ำตาเทียมแบบรายเดือน เมื่อเปิดแล้วใช้ได้ 1 เดือน และน้ำตาเทียมแบบรายวัน ใช้ได้ 24 ชั่วโมงเท่านั้น หากคุณเป็นคนที่ตาแห้งมาก ควรใช้น้ำตาเทียมแบบรายวัน เพราะสามารถหยอดได้บ่อยๆ และจะช่วยให้รู้สึกสบาย เพราะมีน้ำหล่อลื่นในดวงตา ส่วนใครที่ตาแห้งไม่มากก็ควรใช้แบบรายเดือนการป้องกันเนื่องจากดวงตามีความสำคัญกับเรามาก เราจึงควรทะนุถนอม และดูแลดวงตาคู่นี้ให้ดี โดยควรพักสายตาทุกๆ 30 นาทีหรือ 1 ชั่วโมง ด้วยการมองออกไปที่ไกลๆ หรือบริเวณที่มีสีเขียวๆ ออกไปเดิน ยืดเส้น ยืดสาย เพื่อให้สายตาได้มองสิ่งอื่นๆ บ้างนอกจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และโทรศัพท์มือถือ หรือจะพักสายตาด้วยการหลับตาประมาณ 3-5 นาทีก็ได้ นอกจากนี้ควรบำรุงสายตาด้วยการกินผักใบเขียว ไข่ มันเทศ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ปลาแซลมอน อะโวคาโด และถั่วอัลมอนด์ ก็จะช่วยเสริมให้เรามีสุขภาพตาที่แข็งแรง

แพทย์เตือน จ้องมือถือ คอมพิวเตอร์นาน เสี่ยงเป็นโรคซีวีเอส

แพทย์เตือน จ้องมือถือ คอมพิวเตอร์นาน เสี่ยงเป็นโรคซีวีเอสเรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม           แพทย์เตือน ใช้โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ที่มากเกินความจำเป็น อาจเสี่ยงเป็นโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (Computer Vision Syndrome) หรือ โรคซีวีเอส           วันนี้ (8 พฤศจิกายน 2557) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า การใช้งานโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ที่มากเกินความจำเป็นอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้  ซึ่งหนึ่งในโรคที่อาจส่งกระทบต่อสุขภาพ คือ "คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม" (Computer Vision Syndrome) หรือ "โรคซีวีเอส" คนที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ เช่น เกินสองถึงสามชั่วโมง มักจะมีอาการปวดตา แสบตา ตามัว และบ่อยครั้งที่จะมีอาการปวดหัวร่วมด้วย           ทั้งนี้อาการทางสายตาเหล่านี้ เกิดจากการจ้องดูข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป อาการเหล่านี้พบได้ถึงร้อยละ 75 ของบุคคลที่ใช้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี อาการในบางคนอาจเป็นเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่บั่นทอนการทำงาน หรือพักการใช้คอมพิวเตอร์สักครู่ก็หายไป บางคนอาจต้องว่างเว้นการใช้เป็นวันก็หายไป บางรายอาจต้องใช้ยาระงับอาการ           ส่วนสาเหตุของโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือนาน ๆ และไม่ค่อยกระพริบตา หากเราอ่านหนังสือหรือนั่งจ้องคอมพิวเตอร์ อัตราการกระพริบจะลดลง ประกอบกับแสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์ ทำให้ตาเมื่อยล้า ทั้งแสงจ้าและแสงสะท้อนมายังจอภาพ อาจเกิดจากแสงสว่างไม่พอเหมาะ มีไฟส่องเข้าหน้าหรือหลังจอภาพโดยตรง หรือแม้แต่แสงสว่างจากหน้าต่างปะทะหน้าจอภาพโดยตรง ก่อให้เกิดแสงจ้าและแสงสะท้อนเข้าตาผู้ใช้ ทำให้เมื่อยล้าตาง่าย หรือระยะทำงานที่ห่างจากจอภาพไม่เหมาะสม มีสายตาผิดปกติ เช่น สายตายาวไม่มาก โดยการทำงานตามปกติไม่ก่อให้เกิดอาการ แต่ถ้ามาทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์จะก่ออาการเมื่อยล้าตาได้           นอกจากนี้บางรายมีโรคตาบางอย่างประจำตัวอยู่ เช่น ต้อหินเรื้อรัง ม่านตาอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบเรื้อรัง ตลอดจนโรคทางกาย เช่น ไซนัสอักเสบ โรคหวัด ภูมิแพ้เรื้อรัง หรือร่างกายอ่อนเพลีย ทำให้ต้องปรับสายตามากเวลาใช้คอมพิวเตอร์ จึงก่อให้เกิดอาการเมื่อยตาได้ง่าย อีกทั้งการทำงานจ้องจอภาพนานเกินไป ย่อมเกิดอาการทางตาได้ง่ายจากการเกร็งกล้ามเนื้อตาตลอดเวลา           สำหรับการแก้ไขกันและป้องกันคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมหรือโรคซีวีเอส คือ...            ฝึกกระพริบตาบ่อย ๆ ขณะทำงานหน้าจอ และหากแสบตามากอาจใช้น้ำตาเทียมช่วย            ควรปรับห้องและบริเวณทำงาน อย่าให้มีแสงสะท้อนจากหน้าต่าง หรือหลอดไฟบริเวณเพดานห้องสะท้อนเข้าตา            ไม่หันจอภาพเข้าหน้าต่าง            ควรใช้แผ่นกรองแสงวางหน้าจอหรือใส่แว่นกรองแสง            จัดวางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม ในระยะที่ตามองได้สบาย ๆ            ปรับเก้าอี้นั่งให้พอเหมาะ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ใช้แว่นตา 2 ชั้น จะต้องตั้งจอภาพให้ต่ำกว่าระดับตา เพื่อจะได้ตรงกับเลนส์แว่นตา            หากมีสายตาผิดปกติหรือโรคตาบางอย่างอยู่ ควรแก้ไขและรักษาโรคตาที่เป็นอยู่ควบคู่ไปด้วย            หากงานในหน้าที่ต้องอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ทุก 1–2 ชั่วโมง ควรมีการพักสายตา โดยละสายตาจากหน้าจอ แล้วมองออกไปไกล ๆ หรือหลับตาสักระยะหนึ่ง แล้วค่อยกลับมาทำงานใหม่